top of page
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนkantorn.emn

วิถีวัวลานชาวเพชรบุรี

            "วัวลาน" เป็นการเล่นพื้นบ้านหรือกีฬาพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง จัดเป็นหัวใจของคนท้องถิ่น ด้วยว่า "วัว" เป็นสัตว์ที่คลุกคลีอยู่กับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านมาแต่ครั้งบรรพกาล การแข่งขันวัวลานจึงเป็นกีฬาของลูกผู้ชายชาวเมืองเพชรโดยแท้

การแข่งขันวัวลาน ได้วิวัฒนาการและเปลี่ยนแปลงมาจากการนวดข้าวของชาวไทยท้องถิ่นซึ่งใช้วัวเดินวนนวดข้าวในลานวงกลม วัวของใครมีพละกำลังดี แข็งแรงมากก็จะเดินวนนวดข้าวอยู่รอบนอก วัวตัวใดมีพละกำลังน้อยก็จะเดินคลุกอยู่วงในชิดเสากลางลาน ต่อมาคงมีการพนันขันต่อสนุกสนานกันขึ้นในวงนวดข้าว การแข่งขันวัวลานจึงถือกำเนิดขึ้นมาจากประเพณีการนวดข้าวดังกล่าวนี้ สำหรับในจังหวัดเพชรบุรีกล่าวกันว่า เริ่มมาจากตำบลท่าแร้ง ซึ่งมีชาวอิสลามมาเลี้ยงวัวอยู่มากก่อนตำบลอื่น จากนั้นก็ได้รับความนิยมขยายอาณาเขตจนนิยมกันไปทั้งเมือง


อุปกรณ์และวิธีการเล่น

การแข่งขันวัวลานนี้ ชาวบ้านจะนำวัวมาวิ่งแข่งกันเป็นวงกลมในลานที่กำหนด โดยมีเสาเกียดซึ่งปักอยู่กลางถนนเป็นศูนย์กลาง ผูกเชือกพรวนของวัวแต่ละตัวเรียงกันตามลำดับ จากในเสาเกียดออกมาถึงริมลาน รวมจำนวน ๑๙ ตัว ซึ่งเจ้าของพวงวัวแต่ละพวงก็จะตระเตรียมวัวของตนมาทั้งวัวนอกและวัวในหรือวัวรอง

            วัวรองหรือวัวใน จะมีทั้งหมด ๑๘ ตัว เป็นส่วนใหญ่ เจ้าของพวงวัวจะผูกวัวตามเชือกพรวนจากเสาเกียดกลางลานออกมา ตัวที่ฝีเท้าจัด แข็งแรง จะอยู่ด้านริมเชือกพรวน เป็นตัวที่ ๑๖, ๑๗, ๑๘ เพื่อเอาไว้วิ่งแข่งกับวัวนอกของพวงอื่นที่จะนำมาทาบประกบเป็นตัวที่ ๑๙

            วัวนอก คือ วัวตัวที่เจ้าของพวงวัวถือว่าเก่งที่สุด มีกำลังมากและฝีเท้าจัด จะนำมาทาบกับวัวในของพวงวัวอื่น ผูกทับเป็นตัวที่ ๑๙ อยู่นอกสุดของลานเพื่อจะได้วิ่งแข่งกันเอาชนะวัวรองให้ได้ในการแข่งขันแต่ละเปิด ซึ่งแน่นอนว่าวัวตัวนอกสุดที่เรียกว่าวัวนอกนี้จะเป็นวัวที่ต้องวิ่งทำระยะทางไกลที่สุดและมีฝีเท้าจัดที่สุด

            ถ้าวัวนอกวิ่งแซงวัวรองได้แล้วสามารถลากวัวรองตามไปอย่างไม่เป็นขบวนจนดิ้นหลุดขาดไป นั่นหมายถึงวัวนอกชนะ แต่ถ้าวัวรองวิ่งแซงนำวัวนอกได้วัวรองก็ชนะไป แต่ถ้าไม่สามารถเอาชนะกันได้ก็ถือว่าเสมอ


ประเพณีที่เกี่ยวข้องของชาวเพชรบุรี

ชาวเพชรบุรียังประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ที่นำวัวเทียมเกวียนมามาตกแต่งสวยงามใช้แห่เทียนเข้าพรรษา โดยแรกเริ่มจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2551 ในสมัย พระครูปัญญาวัชราธร หรือ “หลวงพ่อชวน” อดีตเจ้าคณะอำเภอแก่งกระจาน อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาปากช่อง ในปีแรกมีขบวนวัวเทียมเกวียนจำนวน 30 เล่ม และมีเจ้าของวัวนำวัวเทียมเกวียนมาเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี โดยตั้งต้นขบวนแห่บริเวณหน้าที่ทำการเทศบาลตำบลท่าแลง เคลื่อนขบวนวัวเทียมเกวียนไปตามถนนคันคลองชลประทาน ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตรไปจนถึงวัดเขาปากช่อง ปัจจุบันมี พระปลัดเสน่ห์ อนุทสฺสี เจ้าอาวาสวัดเขาปากช่อง ได้สานต่อเจตนารมณ์ของอดีตเจ้าอาวาส ในปี พ.ศ. 2566 นี้มีวัวเทียมเกวียนร่วมขบวนแห่จำนวนทั้งสิ้น 123 เล่ม ถือว่าเป็นจำนวนมากที่สุดของจังหวัดเพชรบุรี สามารถกล่าวได้ว่ามีแห่งเดียวในประเทศไทย และในโลกก็ว่าได้


 ทั้งนี้คณะเทคโนโลยีการเกษตร เพื่อให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษาแห่งชาติ จึงได้มีการให้ความรู้เพื่ออนุรักษ์เป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาและประชาชนทั่วไปรู้จักคุณค่าความเป็นไทยและปลูกฝังขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงานของสังคมและท้องถิ่น






ดู 155 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Bình luận


bottom of page